หลักสูตรแพทย์ประจำบ้าน

พันธกิจของการฝึกอบรม/หลักสูตร  

ภาควิชาวิสัญญีวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้กำหนดพันธกิจด้านการศึกษาของหลักสูตร คือ ผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาวิสัญญีวิทยา เป็นแพทย์ที่มีความรู้ความ เข้าใจในระบบสุขภาพ กระบวนการคุณภาพ ความปลอดภัย มีคุณธรรมและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ โดยฝึกอบรมวิชาวิสัญญีวิทยา ให้บัณฑิตมีความรู้และทักษะหัตถการด้านวิสัญญีวิทยา สามารถดูแลผู้ป่วยตั้งแต่ระยะก่อนผ่าตัด ระหว่างผ่าตัด และหลังผ่าตัด รวมถึงการจัดการความปวด การดูแลผู้ป่วยวิกฤติ และการกู้ชีพขั้นสูง นอกจากนี้วิสัญญีแพทย์จะต้องมีความสามารถในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีความสามารถด้านการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ การทำงานเป็นทีมร่วมกับแพทย์สาขาต่างๆและสหสาขาวิชาชีพ มีความสามารถในการบริหารจัดการ มีความรู้ความเข้าใจในระบบสุขภาพ กระบวนการคุณภาพและความปลอดภัยเพื่อให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีความรับผิดชอบ มีจริยธรรม ทัศนคติ และเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วย ผู้ร่วมงาน และองค์กรเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริการทางวิสัญญี เพื่อตอบสนองต่อความต้องการด้านสุขภาพ ของชุมชน และสังคม ระบบบริการสุขภาพ ดังนั้นแพทย์ผู้ฝึกอบรมจะต้องนำความรู้ ทักษะต่างๆ มาบูรณาการฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยจนชำนาญ ในระหว่างการฝึกอบรมอาจมีภาวะแทรกซ้อนหรือภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นนั้น ยังทำให้แพทย์ประจำบ้านได้ฝึกฝนและเรียนรู้เพิ่มเติมโดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตรฯ ช่วยกำกับดูแล เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย รวมถึงหลังจากเกิดเหตุการณ์หรือภาวะแทรกซ้อน แพทย์ผู้ฝึกอบรมจะต้องทบทวนวิเคราะห์เหตุการณ์ ภาควิชาฯ ใช้หลักการของผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นศูนย์กลาง เพื่อกระตุ้นเตรียมความพร้อมและสนับสนุนให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้แสดงความรับผิดชอบต่อกระบวนการเรียนรู้ของตนเองและได้สะท้อนการเรียนรู้นั้นๆ (self-reflection) และชี้นำผู้เข้ารับการฝึกอบรมโดยอาศัยหลักการของการกำกับดูแล (supervision) การประเมินค่า (appraisal) และการให้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback) อย่างเป็นระบบ

 

ผลสัมฤทธิ์ของการฝึกอบรม/หลักสูตร

แพทย์ที่จบการฝึกอบรมเป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาวิสัญญีจากหลักสูตรฯ ต้องมีคุณสมบัติและความรู้ความสามารถขั้นต่ำตามสมรรถนะหลัก (competency) ทั้ง 6 ด้านดังนี้

 

1. การบริบาลผู้ป่วย (patient care)

2.  ความรู้และทักษะหัตถการเวชกรรม (medical knowledge and procedural skills)

3.  ทักษะระหว่างบุคคลและการสื่อสาร (interpersonal and communication skills)

4.  การเรียนรู้และการพัฒนาจากฐานการปฏิบัติ (practice-based learning and improvement)

5.   ความสามารถในการทำงานตามหลักวิชาชีพนิยม (professionalism)

6.   การทำเวชปฏิบัติให้สอดคล้องกับระบบสุขภาพ (system-based practice)

 

หลักสูตรแพทย์ประจำบ้าน พศ. 2566 คลิกที่นี่

คู่มือแพทย์ประจำบ้าน พศ. 2567  คลิกที่นี่

แบบฟอร์มต่าง ๆ      แบบอุทธรณ์ผลการคัดเลือกแพทย์ฝึกอบรม คลิกที่นี่

แบบอุทธรณ์ผลการสอบประจำชั้นปี คลิกที่นี่

ขั้นตอนการอุทธรณ์ คลิกที่นี่